พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระกลีบบัวอรหัง...
พระกลีบบัวอรหัง เนื้อดิน หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุขฯ(เชิงเลน) ปี 2472 ปีกกว้าง ไม่อุด ไม่ซ่อม สภาพสมบูรณ์ครับ
“หลวงปู่ไข่ อินทสโร” วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร (วัดเชิงเลน) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามขจรขจายไปไกล

ชื่อเสียงโด่งดังมาหลายทศวรรษ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย เป็นต้น

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีราคาเช่าบูชากันสูงมาก โดยเฉพาะ “พระกลีบบัวอรหัง”

ประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมาก

นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว ยังมีพระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน

พระกลีบบัวอรหัง เป็นพระเครื่องพิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า “อรหัง”

ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอม

พระกลีบบัวอรหัง จัดสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พอแจกแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

อัตโนประวัติ เป็นชาวแปดริ้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2400 ที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดาชื่อ นายกล่อมและนางบัว จันทร์สัมฤทธิ์

อายุ 6 ขวบ บิดานำไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน มรณภาพลง เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่ออายุ 15 ปี พระอาจารย์จวง มรณภาพลง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม

จนอายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากนั้น ได้เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่เมืองกาญจน์ แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง ออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณจึงเป็นที่รู้จัก จนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก

ต่อมา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุขฯ (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษามาตลอดมา

ระหว่างจำพรรษาปฏิบัติธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ อาทิ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา

ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างพระเครื่อง พระปิดตาและเหรียญรูปเหมือน ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้เป็นจำนวนมากในประมาณปี พ.ศ.2470

เป็นพระที่สมถะสันโดษ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการเทศน์มหาชาติ มีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณ ศิษย์มีทั้งไทย จีน และชาวซิกข์ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาให้ช่วยรักษา ซึ่งก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล

ราวปี พ.ศ.2470 เตรียมบาตร กลด และย่าม เพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายปรึกษาหารือกันว่า ชราภาพมากแล้ว จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้อยู่สอนวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

ต่อมาเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ครั้นวันที่ 16 มกราคม 2475 เวลา 13.25 น. ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

เล่ากันว่าก่อนเวลาที่จะมรณภาพ ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการเสร็จแล้ว ก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ 15 นาที จนหมดลมหายใจ

ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวให้นอนราบลง •

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ครับ
ผู้เข้าชม
434 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
สุรินทร์ภักดี พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
surinphakdee
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
686-2-299xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Erawanเปียโนนรินทร์ ทัพไทยโต้ง นนทบุรีtumlawyerเจริญสุข
somemanLe29Amuletโกหมูfrank_tumtongleehaeZomlazzali
geetarตุ๊ก แปดริ้วแมวดำ99Paphon07โชคเมืองนนท์ยิ้มสยาม573
เอก พานิชพระเครื่องปราสาทมรกตsomphopศิษย์หลวงปู่หมุนtermboonJO RAYONG
บ้านพระสมเด็จบ้านพระหลักร้อยเนินพระ99ยุ้ย พลานุภาพsakuncharttraveller277

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1284 คน

เพิ่มข้อมูล

พระกลีบบัวอรหัง เนื้อดิน หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุขฯ(เชิงเลน) ปี 2472 ปีกกว้าง ไม่อุด ไม่ซ่อม สภาพสมบูรณ์ครับ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระกลีบบัวอรหัง เนื้อดิน หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุขฯ(เชิงเลน) ปี 2472 ปีกกว้าง ไม่อุด ไม่ซ่อม สภาพสมบูรณ์ครับ
รายละเอียด
“หลวงปู่ไข่ อินทสโร” วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร (วัดเชิงเลน) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีพลังจิตที่เข้มขลัง นามขจรขจายไปไกล

ชื่อเสียงโด่งดังมาหลายทศวรรษ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคล เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย เป็นต้น

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีราคาเช่าบูชากันสูงมาก โดยเฉพาะ “พระกลีบบัวอรหัง”

ประมาณปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกและแจกในงานทำบุญอายุ ซึ่งก็เป็นที่นิยมและหายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์ และมีราคาสูงมาก

นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเหรียญแล้ว ยังมีพระเครื่องเนื้อดินเผาเคลือบ ที่เรียกกันว่า พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งวัดเชิงเลนและลูกศิษย์ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน

พระกลีบบัวอรหัง เป็นพระเครื่องพิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า “อรหัง”

ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอม

พระกลีบบัวอรหัง จัดสร้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พอแจกแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา

อัตโนประวัติ เป็นชาวแปดริ้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2400 ที่ ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดาชื่อ นายกล่อมและนางบัว จันทร์สัมฤทธิ์

อายุ 6 ขวบ บิดานำไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปาน มรณภาพลง เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่ออายุ 15 ปี พระอาจารย์จวง มรณภาพลง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน จ.สมุทรสงคราม

จนอายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากนั้น ได้เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่เมืองกาญจน์ แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง ออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณจึงเป็นที่รู้จัก จนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก

ต่อมา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุขฯ (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษามาตลอดมา

ระหว่างจำพรรษาปฏิบัติธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ อาทิ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา

ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน

ด้านวัตถุมงคล จัดสร้างพระเครื่อง พระปิดตาและเหรียญรูปเหมือน ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้เป็นจำนวนมากในประมาณปี พ.ศ.2470

เป็นพระที่สมถะสันโดษ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการเทศน์มหาชาติ มีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณ ศิษย์มีทั้งไทย จีน และชาวซิกข์ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาให้ช่วยรักษา ซึ่งก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล

ราวปี พ.ศ.2470 เตรียมบาตร กลด และย่าม เพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายปรึกษาหารือกันว่า ชราภาพมากแล้ว จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้อยู่สอนวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

ต่อมาเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ครั้นวันที่ 16 มกราคม 2475 เวลา 13.25 น. ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

เล่ากันว่าก่อนเวลาที่จะมรณภาพ ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการเสร็จแล้ว ก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ 15 นาที จนหมดลมหายใจ

ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวให้นอนราบลง •

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ครับ
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
435 ครั้ง
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
สุรินทร์ภักดี พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0870081414
ID LINE
surinphakdee
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 686-2-299xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี